จิตกับความคิด

ความคิดเกิดขึ้นได้อย่างไร

ความคิดเกี่ยวโยงกับกรรมอย่างไร

โกหกเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือเป็นกรรมไม่ดี หรือไม่

กรรมกับผลกรรม

ใครคือผู้รับผลของกรรม

สายใยของกรรม

เอาความคิดที่ไม่ดีออกไปจากจิตใจได้อย่างไร

ปรับทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรม

ความทรงจำที่เลวร้ายในอดีต

การให้อภัยตนเอง

การให้อภัยผู้อื่น

การสะสางบัญชีกรรม

ขอขอบคุณ

 

 

 

ปรับทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรม

 

 

                 :: คุณพ่อคนหนึ่งต้องทำงานเกือบจะ 24 ชั่วโมง เพราะภรรยาของเขาเพิ่งให้กำเนิดลูกน้อย แต่เนื่องจากฐานะการเงินไม่ค่อยดี ทั้งสองก็เลยต้องช่วยกันหาเงินเพิ่ม คุณพ่ออกไปทำงานตอนกลางวัน กลับมาก็มาดูแลลูกในช่วงกลางคืน เพื่อให้คุณแม่มีเวลาออกไปทำงานกะกลางคืน คุณพ่อก็จะต้องจัดสรรเวลาเพื่อจะพักผ่อน ด้วยการงีบหลับบนรถไฟขากลับบ้าน

                :: วันหนึ่งคุณพ่อก็ขึ้นรถไฟกลับบ้านตามปกติ หาที่นั่งได้แล้ว กำลังจะเคลิ้มหลับ รถไฟก็จอดสถานีถัดมา มีชาย 3 คน เดินขึ้นมาบนรถไฟ คนหนึ่งเป็นชายวัยกลางคน เดินตรงไปนั่งที่เก้าอี้ริมหน้าต่างแล้วก็มองออกไปนอกหน้าต่าง ไม่หันกลับมาอีกเลย อีก 2 คนเป็นเด็กชาย อายุไม่น่าจะเกิน 6-7 ขวบ ซึ่งก็น่าจะเป็นลูกของผู้ชายที่ไปนั่งอยู่ริมหน้าต่าง

                :: เด็กน้อยวัยซนก็เริ่มวิ่งเล่นบนรถไฟแล้วก็มาหยุดลงตรงเก้าอี้ ตัวที่คุณพ่อกำลังนั่งอยู่ ส่งเสียงดัง กระโดดโลดเต้นกัน อยู่บนเก้าอี้ตัวที่คุณพ่อกำลังจะนอน โครมครามกันอยู่ตรงนั้นไม่ยอมไปไหน

                ::ในที่สุด คุณพ่อก็สุดจะทนทาน ลุกขึ้นแล้วก็ตรงไปหาผู้ชายคนที่นั่งอยู่ริมหน้าต่าง ต่อว่าใหญ่โตด้วยความไม่พอใจ ชายคนนั้นหันกลับมาช้าๆ ด้วยท่าที่ ที่เศร้าซึม ขอโทษขอโพย คุณพ่อคนนั้น แล้วก็พูดว่า เขาเพิ่งออกจากโรงพยาบาล ภรรยาของเขาเสียชีวิต เขาเองไม่เคยเลี้ยงลูก และก็ยังไม่รู้ว่าจะบอกกับลูกสองคนอย่างไร ว่าพวกเขาไม่มีแม่แล้ว เพียงเท่านั้น คุณพ่อก็เดินกลับไป ไม่ได้พูดอะไร นั่งและหลับไป

                 :: ทุกอย่างในโบกี้รถไฟยังเหมือนเดิม เด็กยังคงเล่นอยู่ตรงนั้น ชายผู้เสียภรรยาก็ยังคงเหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง คุณพ่อก็นั่งและหลับไปในที่นั่งเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปมีเพียงอย่างเดียวคือ ทัศนคติ

                 :: ทัศนคติแรกของเขามองว่าชายผู้เป็นพ่อต้องรับผิดชอบ ลูกของตน ไม่ควรปล่อยให้ทำตัวรบกวนผู้อื่น ด้วยทัศนคตินี้ทำให้คุณพ่อลุกขึ้นไปเอาเรื่องเอาราวกับชายคนนั้น เพื่อทวงถามความรับผิดชอบ

                :: แต่หลังจากที่ได้ฟังการอธิบาย ทัศนคติก็เปลี่ยนไป เป็นความเห็นอกเห็นใจ เป็นการยอมรับ เกิดความรู้สึกเมตตา แล้วเหตุการณ์ที่ดูเหมือนเป็นความยุ่งยากก็กลับมาสู่สถานการณ์ปกติอีกครั้ง

                :: ดังนั้น ด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง พฤติกรรมของเราก็จะมีการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์